วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

คลิปวิดีโออุปกรณ์และวิธีการทำ


เปลือกไข่

ประโยชน์ของเปลือกไข่

ไข่ เป็นอาหารยอดนิยมของคนไทย ทุกๆบ้านต้องมีไข่เก็บไว้ทำอาหารเสมอๆ กินไข่วันละฟองไม่ต้องไปหาหมอ แล้วเปลือกไข่ที่เหลือล่ะเอาไปทำอะไรได้บ้าง ลองไปดูกันค่ะ

สารในเปลือกไข่

เปลือกไข่ ประกอบด้วยสารแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นแท่งๆมาต่อกัน ในการสร้างเปลือกไข่แต่ละฟองนั้นจะใช้แคลเซียมประมาณ 2 กรัม ที่ผิวของเปลือกไข่มีรูเล็กๆ อยู่มากกว่า 17,000 รู ช่วยระบายความชื้นและรับอากาศเข้าไป ซึ่งสำคัญมากต่อการพัฒนาการของลูกไก่ และมีสารเคลือบที่สามารถป้องกันเชื้อแบคทีเรียไม่ให้เข้าไปในตัวไข่ได้ ความแข็งแรงของเปลือกไข่ขึ้นกับอายุและการกินอาหารของแม่ไก่ ส่วนใหญ่แม่ไก่ที่ตัวใหญ่จะให้ไข่ไก่ขนาดใหญ่และมีเปลือกบางช่องอากาศ จะอยู่ภายในเปลือกตรงส่วนหัวของไข่ ในเปลือกไข่มีเยื่อหุ้มเซลล์บางๆ 2 ชั้น ซึ่งจะอยู่ห่างออกจากกันเล็กน้อยเพื่อให้มีช่องว่างเกิดขึ้นสำหรับให้อากาศ เข้าไปได้ เมื่อไข่อายุมากขึ้นช่องอากาศจะขยายใหญ่ขึ้นเนื่องจากความชื้นและคาร์บอน ไดออกไซด์ระเหยออกไป และถูกทดแทนด้วยอากาศ ไข่จะเบาขึ้นและสามารถลอยน้ำได้ เราจึงสามารถทดสอดความสดของไข่ได้โดยการนำไปใส่น้ำ ไข่ที่สดจะจมอยู่ก้นภาชนะ 


ประโยชน์เปลือกไข่

1. เปลือกไข่ไล่มด

เปลือกไข่ที่เผาไฟแล้วบดละเอียด จะมีสารแคลเซียมเมื่อผสมกับน้ำก็จะได้แคลเซียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งมีฤทธิ์เป็นเบส(ด่าง) สามารถขับไล่มดได้ วิธีทำ ล้างเปลือกไข่ให้สะอาด เผาให้เหลืองและแห้งสนิท ใส่เปลือกไข่ที่ย่างแล้วใส่ครก ตำให้ละเอียด เทเปลือกไข่ลงในแก้ว 1 ส่วนแล้วเติมน้ำ 2 ส่วน คนให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง ใช้ฉีดพ่น หรือราดบริเวณรังมด

2. เปลือกไข่ซักผ้า

เปลือกไข่ทำให้ผ้าขาว เวลาซักผ้า ให้เอาเปลือกไข่หลายๆฟองห่อผ้าเอาไว้ แล้วนำไปต้มรวมกับผ้าขาว เสร็จแล้วก็นำไปซักหรือขยี้ผ้าตามปกติทั่วไป จะทำให้ผ้าดูขาวผิดตาขึ้นเลยทีเดียว หรือนำเปลือกไข่บดละเอียดผสมกับโซดาซักผ้าอย่างละ 1 ส่วนเท่าๆ กัน ก็นำไปใช้แทนผงซักผ้าได้ค่ะ

3. สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง

ในกรณีที่เราต้องการใช้เตาถ่าน โดยที่ขณะก่อไฟให้ทุบเปลือกไข่จนแตกละเอียดแล้วใช้กระดาษห่อมัดไว้วางข้าง ใต้ฟืนจะให้ ไฟแรงขึ้น

4. กินเปลือกไข่เพิ่มแคลเซียม

เปลือกไข่อุดมด้วยธาตุเหล็ก นำเปลือกไข่มาล้างให้สะอาด อบย่างให้ร้อนแล้วตำให้เป็นผงละเอียดนำไปหุงปนกับข้าวสาร เป็นอาหารที่มีคุณค่าบำรุงดีมาก และสารอาหารที่จะได้รับจากเปลือกไข่ ก็คือ แคลเซี่ยม หรือนำผงเปลือกไข่ไปผสมอาหารสัตว์เพื่อเสริมแคลเซียมก็ได้เหมือนกัน

5. เป็นเครื่องมือทำความสะอาด

สามารถนำเปลือกไข่ไป ใช้ขัดล้างอ่างล้างหน้าอ่างอาบน้ำและเครื่องใช้เซรามิคทั้งหลาย ใช้แทนแปรงล้างขวดหรือภาชนะที่มีปากแคบ ใส่เปลือกไข่ลงไปแล้วเขย่าๆขวด

6. ใช้เป็นปุ๋ยให้ต้นไม้ได้

นำเปลือกไข่ตำเป็นผง โรยลงไปในดินก็สามารถเพิ่มแคลเซียมให้กับดินได้ หรือใช้เปลือกไข่ป่นผสมในปุ๋ยหมัก ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ช่วยให้พืชผักในบ้านของเราเจริญเติบโตงดงามกว่าเดิม

7. ใช้แทนยาฆ่าแมลง

ถ้าเราโรยเปลือกไข่ทุบหยาบๆ ไว้ตามใบของต้นไม้ จะช่วยป้องกันศัตรูพืชบางประเภทซึ่งกินใบไม้เป็นอาหาร เช่น ตัวหนอน เนื่องจากความแหลมคมของเปลือกไข่จะบาดผิวหนังที่ไม่มีอะไรปกคลุมของมัน ทำให้มันหลีกหนีจากต้นไม้ของเรา 


จะเห็นว่า นอกจากไข่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว เปลือกไข่ก็อย่าเอาไปทิ้งค่ะ เก็บไว้ทำประโยชน์ได้อีกตั้งเยอะ

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

การตกผลึกของสารส้ม

              การทำผลึกสารส้มเริ่มจากการเตรียมสารละลายอิ่มตัวของสารส้มก่อน โดยการนำสารส้มมาละลายน้ำที่อุณหภูมิห้องไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสารส้มไม่สามารถละลายได้อีกแล้ว ต่อไปจึงนำสารละลายที่ได้ไปตั้งไฟให้ความร้อนแล้วเติมสารส้มลงไปอีกพอประมาณ คนจนกระทั่งสารส้มละลายหมด เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นสารส้มจึงละลายได้มากขึ้น หลังจากนั้นก็ให้นำสารละลายสารส้มลงมาปล่อยให้เย็นตัวลง เมื่ออุณหภูมิลดลงแล้วสารส้มส่วนที่เกินจากการนำไปละลายที่อุณหภูมิห้องจะเริ่มตกผลึกออกมา ช่วงนี้อาจหาเชือกหย่อนลงไปในภาชนะบรรจุสารละลายเพื่อให้ผลึกสารส้มมาเกาะ ในช่วงของการตกผลึกนี้ถ้าอยากได้ผลึกที่มีขนาดใหญ่ก็ต้องควบคุมให้สารละลายเย็นตัวอย่างช้าๆ อาจหาผ้าหนาๆ มาพันรอบภาชนะที่บรรจุไว้ เพราะถ้าสารละลายเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วก็จะได้ผลึกขนาดเล็กละเอียดจำนวนมาก เมื่อได้ผลึกมาแล้วให้คัดเลือกผลึกที่สมบูรณ์ที่สุด โดยผลึกสารส้มที่สมบูรณ์จะเป็นรูปพีระมิด 2 อัน เอาฐานชนกัน



การตกผลึกคืออะไร?

การตกผลึก
การตกผลึกเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสารละลายที่เป็นของไหลบริสุทธิ์ ที่มีการรวมตัวเป็นภาคของแข็งจากขนาดเล็ก ๆ แล้วมีการเพิ่มขนาดขึ้นตามลำดับ เป็นกระบวนการเก่าแก่กระบวนการหนึ่งที่อุตสาหกรรมทางเคมีนิยมใช้กัน เนื่องด้วยประสิทธิภาพของการแยกสารที่ดีโดยเฉพาะประสิทธิภาพทางด้านพลังงาน จะประหยัดกว่าทางด้านการกลั่น หรือการแยกสกัดระหว่างของเหลวกับของเหลว และได้มีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะทางด้านการปรับปรุงเครื่องตกผลึก ตลอดจน การหาวิธีการคำนวณหรือวัดหาขนาดของผลึกในเครื่องตกผลึกการตกผลึกขึ้นกับสมบัติอันหนึ่งของสารคือการละลาย การตกผลึกจะออกมาในลักษณะใด ขั้นตอนแรกจำเป็นต้องทราบคุณสมบัติข้อนี้ก่อน

การละลาย และสภาพอิ่มตัว
สารละลาย หมายถึง ของผสมตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ในสารละลายจึงแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
1. ตัวทำละลาย (Solvent)
2. ตัวถูกละลาย (Solute)

โดยตัวทำละลาย ซึ่งเป็นสารส่วนใหญ่ในระบบมีความสามารถในการละลายอีกสารหนึ่งให้อยู่ในสถานะเดียวกันได้ ในสารละลายใด ๆ ตัวทำละลายมักมีปริมาณมากกว่าตัวถูกละลาย แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไปในบางระบบถูกละลายอาจมีปริมาณมากกว่าตัวทำละลายได้ เช่น ระบบแยมที่มีน้ำตาล 70 % ซึ่งมีมากกว่าน้ำ แต่อย่างไรก็ตาม น้ำยังคงเป็นตัวทำละลาย ส่วนในระบบที่ตัวถูกละลายไม่ใช่ของเหลว เช่น ในน้ำโซดา ตัวถูกละลายคือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

สภาพละลายได้เราจะวัดความสามารถในการละลายในตัวถูกละลาย ถ้าตัว ถูกละลายละลายได้ดีในตัวทำละลาย เรียกว่ามี Solution pressure สูง หรือมีสภาพละลาย ได้สูง การละลายจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิด้วย โดยการละลายจะดีขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ณ อุณหภูมิหนึ่ง เมื่อเราเพิ่มปริมาณตัวถูกละลายลงไปในตัวทำละลาย จนถึงค่าหนึ่ง ที่ตัวถูกละลายไม่สามารถละลายได้ เราจะเรียกสารละลายนั้นว่า สารละลายอิ่มตัว (Saturated solution) ตัวอย่างเช่น น้ำเกลือแกงมีค่าอิ่มตัวที่ 26.5% โดยมวล และน้ำเชื่อมจากน้ำตาลทราย 35% โดยมวล ที่ระดับความดันบรรยากาศ อย่างไรก็ตามเราสามารถ ทำให้การละลายเพิ่มขึ้นได้โดยการให้ความร้อนแก่ระบบ ซึ่งถ้าหากเราปล่อยให้เกิด การเย็นตัวลงอย่างช้า ๆ ก็จะได้สารละลายอิ่มตัวยิ่งยวด (Supersaturated solution) แต่ถ้าทำการลดอุณหภูมิอย่างเร็ว ก็จะเกิดผลึกในสารละลายดังกล่าวทันที

รูปแบบการตกผลึก
รูปแบบของการตกผลึกสามารถทำได้ 3 วิธี คือ

1. ลดปริมาณของตัวทำละลายลง เช่น วิธีการระเหยน้ำในกระบวนการผลิตแยมใน Vacuum Evaporator โดยระเหยตัวทำละลายไปเรื่อย ๆ จนสารละลายเกิดการอิ่มตัวยิ่งยวด และในที่สุดก็จะเกิดการตกผลึกลงมา

2. ลด หรือ เพิ่มอุณหภูมิ เป็นวิธีที่ทำให้ตัวถูกละลายละลายได้น้อยลง แล้วในที่สุดทำให้ตัวถูกละลายที่อยู่ในสภาพอิ่มตัวยิ่งยวด ส่วนตัวทำละลายก็จะตกผลึก

3. เปลี่ยนธรรมชาติของระบบ โดยการเติมสารใด ๆ ที่ไปทำให้สมบัติของ ตัวทำละลาย หรือดึงตัวทำละลายไปทำการละลายในสารอื่น ซึ่งมีสภาพการละลาย ที่ดีกว่า หรือเติมตัวถูกละลายที่มีสภาพละลายได้สูงกว่าตัวถูกละลายเดิม ไปดึงเอา ตัวทำละลายมาจับ

การตกผลึกสารละลาย ทำได้ 3 วิธี คือ
1. ลดปริมาณของตัวทำละลายลง
2. ลด หรือ เพิ่มอุณหภูมิ
3. เปลี่ยนธรรมชาติของระบบ

ปรากฏการณ์ตกผลึก (Crystallization)

การตกผลึกประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลักที่สำคัญ คือ
1. การเกิดเกล็ดผลึก (Nucleation)
2. การโตของผลึก (Crystal Growth)
ทั้งสองขั้นตอนเกิดเฉพาะในสารละลายที่อิ่มตัวยิ่งยวดเท่านั้น แต่สภาพอิ่มตัวยิ่งยวดไม่ใช่เป็นเหตุเพียงอย่างเดียวที่ทำให้เกิดการตกผลึก ยังขึ้นกับค่าที่แน่นอนของดีกรี ของสภาพอิ่มตัวยิ่งยวดสำหรับขั้นตอนการเกิดเกล็ดผลึก สามารถเกิดขึ้นได้ ในสารละลายที่ไม่มีผลึกอยู่ในรูปของสารแขวนลอย ซึ่งเรียกการเกิดเกล็ดผลึกชนิดนี้ ว่าการเกิดเกล็ดผลึกปฐมภูมิ (primary nucleation) ส่วนการเกิดเกล็ดผลึกที่เกิดในสารละลายที่มีเกล็ดของผลึกอยู่ในสารละลายแล้ว เรียกว่า การเกิดเกล็ดผลึกทุติยภูมิ (secondary nucleation)

การเกิดเกล็ดผลึกปฐมภูมิ เป็นการเกิดผลึกขึ้นเองในสารละลาย ซึ่งอาจแบ่งเป็น
Homogeneous คือ เกิดขึ้นเองจริง ๆ ในสารละลาย
Heterogeneous คือ เกิดผลึกได้โดยอาศัยสิ่งเทียมหรือผงต่าง ๆ เป็นตัวเหนี่ยวนำกลไก การเกิดเกล็ดผลึกของทั้งสองแบบจะแตกต่างกันมาก

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

อุปกรณ์และวิธีการทำ

อุปกรณ์
-ไข่
-น้ำเปล่า
-สีผสมอาหาร
-ช้อน
-พู่กัน
-กาว
-น้ำร้อน
-กรรไกร
-กระดาษทิชชู
-ไม้จิ้มฟัน


วิธีทำ
1.เจาะรูไข่ เทไข่ออกให้หมด จากรูที่เจาะ
2.ตัดเปลือกไข่ ออกเป็น 2 ส่วน
3.เช็ดเปลือกไข่ให้สะอาด
4.เทกาวลงในเปลือกไข่
5.เกลี่ยให้ทั่วด้วยพู่กัน
6.ใส่ผงฟูตามลงไปในเปลือกไข่
7.เคาะแป้งในส่วนที่เหลือออกจากเปลือกไข่
8.ใส่น้ำร้อนลงในแก้วใบใหญ่
9.หยดสีผสมอาหารลงไป
10.ใส่ผงฟูลงไป 3/4 ของแก้วที่ใส่น้ำพร้อมสีผสมอาหาร
11.ผสมให้เข้ากัน
12.ใส่เปลือกไข่ลงไป
13.กดให้จมในน้ำ พักทิ้งไว้ 12–14 ชม.
14.ตักออก

คลิปวิดีโอ

ความรู้ทั่วไปของสีผสมอาหาร


สีผสมอาหาร เป็นวัตถุปรุงแต่ง สังเคราะห์หรือสกัดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์สำหรับใช้แต่งสีอาหารให้มีสีสันที่น่ารับประทานมากขึ้น แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ สีผสมอาหารสังเคราะห์ และสีผสมอาหารจากธรรมชาติ โดยสีผสมอาหารจากธรรมชาติจัดเป็นสีผสมอาหารที่มีการใช้มาตั้งแต่โบราณ ส่วนสีผสมอาหารสังเคราะห์ เริ่มรู้จักครั้งแรกในปี ค.ศ. 1865 โดย Sir Willium Henry Perkin ได้ทำการสังเคราะห์สีอินทรีย์ผสมอาหารขึ้นเป็นครั้งแรกในโทนสีม่วงแดง จนเริ่มมีบทบาท และมีการใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน



ความสำคัญของสีผสมอาหาร
1. ช่วยแก้ไขสีของอาหารที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสีตามธรรมชาติหรือการเปลี่ยนแปลงขณะแปรรูปหรือเก็บรักษาอาหาร
2. ช่วยเพิ่มหรือเน้นหรือรักษาความเป็นเอกลักษณ์สีของอาหาร
3. ช่วยสีสันของอาหารทำให้ดึุงดูดความสนใจที่น่ารับประทานแก่ผู้บริโภค



การใช้ประโยชน์สีผสมอาหาร
1. การใช้สำหรับแต่งอาหารทั่วไปที่ไม่มีสี เพื่อให้มีสีเป็นที่ดึงดูดใจผู้บริโภค เช่น เครื่องดื่มหรือเครื่องดื่มผง ลูกกวาด ไอศกรีม แยม เยลลี่ เป็นต้น
2. การใช้แต่งอาหารที่มีสูญเสียหรือเปลี่ยนแปลงสีระหว่างกระบวนการผลิต และการเก็บรักษา เช่น การผสมสีผสมอาหารในเบียร์ น้ำเชื่อม และอาหารอบ เป็นต้น
3. การใช้แต่งอาหารที่มีสีเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล และสภาพภูมิอากาศ เช่น การใช้แต่งสีน้ำนมวัวที่ผลิตได้ในฤดูหนาวให้มีสีเข้มขึ้น เพราะน้ำนมวัวในฤดูหนาวจะมีสีอ่อนเนื่องจากได้รับสารเบต้าแคโรทีนจากหญ้าในปริมาณน้อย ขณะที่น้ำนมวัวในฤดูร้อนมักมีสีเหลืองเข้ม เนื่องจากได้รับบีตาแคโรทีนในหญ้าที่มีมากกว่าหญ้าในฤดูหนาว


                                                          

อันตรายจากสีสังเคราะห์
1. สีสังเคราะห์มีผลต่อสมดุล และประสิทธิภาพของน้ำย่อยในกระเพาะอาหารอาจทำให้เกิดอาการอาหารย่อยยาก ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นต้น
2. สีสังเคราะห์บางชนิดอาจมีส่วนผสมหรือปนเปื้อนโลหะหนัก ถึงแม้จะไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด เช่น แคดเมียม โครเมียม ตะกั่ว เป็นต้น แต่หากรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจเกิดการสะสม และก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายได้ เช่น มีอาการวิงเวียนศรีษะ เบื่ออาหาร ลำไส้อักเสบ และอาจเกิดมะเร็งตามมาได้