โครงงานรายงาน from WinNie Sjr
วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559
วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559
เปลือกไข่
ประโยชน์ของเปลือกไข่
ไข่ เป็นอาหารยอดนิยมของคนไทย ทุกๆบ้านต้องมีไข่เก็บไว้ทำอาหารเสมอๆ กินไข่วันละฟองไม่ต้องไปหาหมอ แล้วเปลือกไข่ที่เหลือล่ะเอาไปทำอะไรได้บ้าง ลองไปดูกันค่ะ
สารในเปลือกไข่
เปลือกไข่ ประกอบด้วยสารแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นแท่งๆมาต่อกัน ในการสร้างเปลือกไข่แต่ละฟองนั้นจะใช้แคลเซียมประมาณ 2 กรัม ที่ผิวของเปลือกไข่มีรูเล็กๆ อยู่มากกว่า 17,000 รู ช่วยระบายความชื้นและรับอากาศเข้าไป ซึ่งสำคัญมากต่อการพัฒนาการของลูกไก่ และมีสารเคลือบที่สามารถป้องกันเชื้อแบคทีเรียไม่ให้เข้าไปในตัวไข่ได้ ความแข็งแรงของเปลือกไข่ขึ้นกับอายุและการกินอาหารของแม่ไก่ ส่วนใหญ่แม่ไก่ที่ตัวใหญ่จะให้ไข่ไก่ขนาดใหญ่และมีเปลือกบางช่องอากาศ จะอยู่ภายในเปลือกตรงส่วนหัวของไข่ ในเปลือกไข่มีเยื่อหุ้มเซลล์บางๆ 2 ชั้น ซึ่งจะอยู่ห่างออกจากกันเล็กน้อยเพื่อให้มีช่องว่างเกิดขึ้นสำหรับให้อากาศ เข้าไปได้ เมื่อไข่อายุมากขึ้นช่องอากาศจะขยายใหญ่ขึ้นเนื่องจากความชื้นและคาร์บอน ไดออกไซด์ระเหยออกไป และถูกทดแทนด้วยอากาศ ไข่จะเบาขึ้นและสามารถลอยน้ำได้ เราจึงสามารถทดสอดความสดของไข่ได้โดยการนำไปใส่น้ำ ไข่ที่สดจะจมอยู่ก้นภาชนะ
ประโยชน์เปลือกไข่
1. เปลือกไข่ไล่มด
เปลือกไข่ที่เผาไฟแล้วบดละเอียด จะมีสารแคลเซียมเมื่อผสมกับน้ำก็จะได้แคลเซียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งมีฤทธิ์เป็นเบส(ด่าง) สามารถขับไล่มดได้ วิธีทำ ล้างเปลือกไข่ให้สะอาด เผาให้เหลืองและแห้งสนิท ใส่เปลือกไข่ที่ย่างแล้วใส่ครก ตำให้ละเอียด เทเปลือกไข่ลงในแก้ว 1 ส่วนแล้วเติมน้ำ 2 ส่วน คนให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง ใช้ฉีดพ่น หรือราดบริเวณรังมด
2. เปลือกไข่ซักผ้า
เปลือกไข่ทำให้ผ้าขาว เวลาซักผ้า ให้เอาเปลือกไข่หลายๆฟองห่อผ้าเอาไว้ แล้วนำไปต้มรวมกับผ้าขาว เสร็จแล้วก็นำไปซักหรือขยี้ผ้าตามปกติทั่วไป จะทำให้ผ้าดูขาวผิดตาขึ้นเลยทีเดียว หรือนำเปลือกไข่บดละเอียดผสมกับโซดาซักผ้าอย่างละ 1 ส่วนเท่าๆ กัน ก็นำไปใช้แทนผงซักผ้าได้ค่ะ
3. สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง
ในกรณีที่เราต้องการใช้เตาถ่าน โดยที่ขณะก่อไฟให้ทุบเปลือกไข่จนแตกละเอียดแล้วใช้กระดาษห่อมัดไว้วางข้าง ใต้ฟืนจะให้ ไฟแรงขึ้น
4. กินเปลือกไข่เพิ่มแคลเซียม
เปลือกไข่อุดมด้วยธาตุเหล็ก นำเปลือกไข่มาล้างให้สะอาด อบย่างให้ร้อนแล้วตำให้เป็นผงละเอียดนำไปหุงปนกับข้าวสาร เป็นอาหารที่มีคุณค่าบำรุงดีมาก และสารอาหารที่จะได้รับจากเปลือกไข่ ก็คือ แคลเซี่ยม หรือนำผงเปลือกไข่ไปผสมอาหารสัตว์เพื่อเสริมแคลเซียมก็ได้เหมือนกัน
5. เป็นเครื่องมือทำความสะอาด
สามารถนำเปลือกไข่ไป ใช้ขัดล้างอ่างล้างหน้าอ่างอาบน้ำและเครื่องใช้เซรามิคทั้งหลาย ใช้แทนแปรงล้างขวดหรือภาชนะที่มีปากแคบ ใส่เปลือกไข่ลงไปแล้วเขย่าๆขวด
6. ใช้เป็นปุ๋ยให้ต้นไม้ได้
นำเปลือกไข่ตำเป็นผง โรยลงไปในดินก็สามารถเพิ่มแคลเซียมให้กับดินได้ หรือใช้เปลือกไข่ป่นผสมในปุ๋ยหมัก ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ช่วยให้พืชผักในบ้านของเราเจริญเติบโตงดงามกว่าเดิม
7. ใช้แทนยาฆ่าแมลง
ถ้าเราโรยเปลือกไข่ทุบหยาบๆ ไว้ตามใบของต้นไม้ จะช่วยป้องกันศัตรูพืชบางประเภทซึ่งกินใบไม้เป็นอาหาร เช่น ตัวหนอน เนื่องจากความแหลมคมของเปลือกไข่จะบาดผิวหนังที่ไม่มีอะไรปกคลุมของมัน ทำให้มันหลีกหนีจากต้นไม้ของเรา
จะเห็นว่า นอกจากไข่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว เปลือกไข่ก็อย่าเอาไปทิ้งค่ะ เก็บไว้ทำประโยชน์ได้อีกตั้งเยอะ
ไข่ เป็นอาหารยอดนิยมของคนไทย ทุกๆบ้านต้องมีไข่เก็บไว้ทำอาหารเสมอๆ กินไข่วันละฟองไม่ต้องไปหาหมอ แล้วเปลือกไข่ที่เหลือล่ะเอาไปทำอะไรได้บ้าง ลองไปดูกันค่ะ
สารในเปลือกไข่
เปลือกไข่ ประกอบด้วยสารแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นแท่งๆมาต่อกัน ในการสร้างเปลือกไข่แต่ละฟองนั้นจะใช้แคลเซียมประมาณ 2 กรัม ที่ผิวของเปลือกไข่มีรูเล็กๆ อยู่มากกว่า 17,000 รู ช่วยระบายความชื้นและรับอากาศเข้าไป ซึ่งสำคัญมากต่อการพัฒนาการของลูกไก่ และมีสารเคลือบที่สามารถป้องกันเชื้อแบคทีเรียไม่ให้เข้าไปในตัวไข่ได้ ความแข็งแรงของเปลือกไข่ขึ้นกับอายุและการกินอาหารของแม่ไก่ ส่วนใหญ่แม่ไก่ที่ตัวใหญ่จะให้ไข่ไก่ขนาดใหญ่และมีเปลือกบางช่องอากาศ จะอยู่ภายในเปลือกตรงส่วนหัวของไข่ ในเปลือกไข่มีเยื่อหุ้มเซลล์บางๆ 2 ชั้น ซึ่งจะอยู่ห่างออกจากกันเล็กน้อยเพื่อให้มีช่องว่างเกิดขึ้นสำหรับให้อากาศ เข้าไปได้ เมื่อไข่อายุมากขึ้นช่องอากาศจะขยายใหญ่ขึ้นเนื่องจากความชื้นและคาร์บอน ไดออกไซด์ระเหยออกไป และถูกทดแทนด้วยอากาศ ไข่จะเบาขึ้นและสามารถลอยน้ำได้ เราจึงสามารถทดสอดความสดของไข่ได้โดยการนำไปใส่น้ำ ไข่ที่สดจะจมอยู่ก้นภาชนะ
ประโยชน์เปลือกไข่
1. เปลือกไข่ไล่มด
เปลือกไข่ที่เผาไฟแล้วบดละเอียด จะมีสารแคลเซียมเมื่อผสมกับน้ำก็จะได้แคลเซียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งมีฤทธิ์เป็นเบส(ด่าง) สามารถขับไล่มดได้ วิธีทำ ล้างเปลือกไข่ให้สะอาด เผาให้เหลืองและแห้งสนิท ใส่เปลือกไข่ที่ย่างแล้วใส่ครก ตำให้ละเอียด เทเปลือกไข่ลงในแก้ว 1 ส่วนแล้วเติมน้ำ 2 ส่วน คนให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง ใช้ฉีดพ่น หรือราดบริเวณรังมด
2. เปลือกไข่ซักผ้า
เปลือกไข่ทำให้ผ้าขาว เวลาซักผ้า ให้เอาเปลือกไข่หลายๆฟองห่อผ้าเอาไว้ แล้วนำไปต้มรวมกับผ้าขาว เสร็จแล้วก็นำไปซักหรือขยี้ผ้าตามปกติทั่วไป จะทำให้ผ้าดูขาวผิดตาขึ้นเลยทีเดียว หรือนำเปลือกไข่บดละเอียดผสมกับโซดาซักผ้าอย่างละ 1 ส่วนเท่าๆ กัน ก็นำไปใช้แทนผงซักผ้าได้ค่ะ
3. สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง
ในกรณีที่เราต้องการใช้เตาถ่าน โดยที่ขณะก่อไฟให้ทุบเปลือกไข่จนแตกละเอียดแล้วใช้กระดาษห่อมัดไว้วางข้าง ใต้ฟืนจะให้ ไฟแรงขึ้น
4. กินเปลือกไข่เพิ่มแคลเซียม
เปลือกไข่อุดมด้วยธาตุเหล็ก นำเปลือกไข่มาล้างให้สะอาด อบย่างให้ร้อนแล้วตำให้เป็นผงละเอียดนำไปหุงปนกับข้าวสาร เป็นอาหารที่มีคุณค่าบำรุงดีมาก และสารอาหารที่จะได้รับจากเปลือกไข่ ก็คือ แคลเซี่ยม หรือนำผงเปลือกไข่ไปผสมอาหารสัตว์เพื่อเสริมแคลเซียมก็ได้เหมือนกัน
5. เป็นเครื่องมือทำความสะอาด
สามารถนำเปลือกไข่ไป ใช้ขัดล้างอ่างล้างหน้าอ่างอาบน้ำและเครื่องใช้เซรามิคทั้งหลาย ใช้แทนแปรงล้างขวดหรือภาชนะที่มีปากแคบ ใส่เปลือกไข่ลงไปแล้วเขย่าๆขวด
6. ใช้เป็นปุ๋ยให้ต้นไม้ได้
นำเปลือกไข่ตำเป็นผง โรยลงไปในดินก็สามารถเพิ่มแคลเซียมให้กับดินได้ หรือใช้เปลือกไข่ป่นผสมในปุ๋ยหมัก ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ช่วยให้พืชผักในบ้านของเราเจริญเติบโตงดงามกว่าเดิม
7. ใช้แทนยาฆ่าแมลง
ถ้าเราโรยเปลือกไข่ทุบหยาบๆ ไว้ตามใบของต้นไม้ จะช่วยป้องกันศัตรูพืชบางประเภทซึ่งกินใบไม้เป็นอาหาร เช่น ตัวหนอน เนื่องจากความแหลมคมของเปลือกไข่จะบาดผิวหนังที่ไม่มีอะไรปกคลุมของมัน ทำให้มันหลีกหนีจากต้นไม้ของเรา
จะเห็นว่า นอกจากไข่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว เปลือกไข่ก็อย่าเอาไปทิ้งค่ะ เก็บไว้ทำประโยชน์ได้อีกตั้งเยอะ
วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559
การตกผลึกของสารส้ม
การทำผลึกสารส้มเริ่มจากการเตรียมสารละลายอิ่มตัวของสารส้มก่อน โดยการนำสารส้มมาละลายน้ำที่อุณหภูมิห้องไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสารส้มไม่สามารถละลายได้อีกแล้ว ต่อไปจึงนำสารละลายที่ได้ไปตั้งไฟให้ความร้อนแล้วเติมสารส้มลงไปอีกพอประมาณ คนจนกระทั่งสารส้มละลายหมด เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นสารส้มจึงละลายได้มากขึ้น หลังจากนั้นก็ให้นำสารละลายสารส้มลงมาปล่อยให้เย็นตัวลง เมื่ออุณหภูมิลดลงแล้วสารส้มส่วนที่เกินจากการนำไปละลายที่อุณหภูมิห้องจะเริ่มตกผลึกออกมา ช่วงนี้อาจหาเชือกหย่อนลงไปในภาชนะบรรจุสารละลายเพื่อให้ผลึกสารส้มมาเกาะ ในช่วงของการตกผลึกนี้ถ้าอยากได้ผลึกที่มีขนาดใหญ่ก็ต้องควบคุมให้สารละลายเย็นตัวอย่างช้าๆ อาจหาผ้าหนาๆ มาพันรอบภาชนะที่บรรจุไว้ เพราะถ้าสารละลายเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วก็จะได้ผลึกขนาดเล็กละเอียดจำนวนมาก เมื่อได้ผลึกมาแล้วให้คัดเลือกผลึกที่สมบูรณ์ที่สุด โดยผลึกสารส้มที่สมบูรณ์จะเป็นรูปพีระมิด 2 อัน เอาฐานชนกัน
การตกผลึกคืออะไร?
การตกผลึก
การตกผลึกเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสารละลายที่เป็นของไหลบริสุทธิ์ ที่มีการรวมตัวเป็นภาคของแข็งจากขนาดเล็ก ๆ แล้วมีการเพิ่มขนาดขึ้นตามลำดับ เป็นกระบวนการเก่าแก่กระบวนการหนึ่งที่อุตสาหกรรมทางเคมีนิยมใช้กัน เนื่องด้วยประสิทธิภาพของการแยกสารที่ดีโดยเฉพาะประสิทธิภาพทางด้านพลังงาน จะประหยัดกว่าทางด้านการกลั่น หรือการแยกสกัดระหว่างของเหลวกับของเหลว และได้มีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะทางด้านการปรับปรุงเครื่องตกผลึก ตลอดจน การหาวิธีการคำนวณหรือวัดหาขนาดของผลึกในเครื่องตกผลึกการตกผลึกขึ้นกับสมบัติอันหนึ่งของสารคือการละลาย การตกผลึกจะออกมาในลักษณะใด ขั้นตอนแรกจำเป็นต้องทราบคุณสมบัติข้อนี้ก่อน
การละลาย และสภาพอิ่มตัว
สารละลาย หมายถึง ของผสมตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ในสารละลายจึงแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
1. ตัวทำละลาย (Solvent)
2. ตัวถูกละลาย (Solute)
โดยตัวทำละลาย ซึ่งเป็นสารส่วนใหญ่ในระบบมีความสามารถในการละลายอีกสารหนึ่งให้อยู่ในสถานะเดียวกันได้ ในสารละลายใด ๆ ตัวทำละลายมักมีปริมาณมากกว่าตัวถูกละลาย แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไปในบางระบบถูกละลายอาจมีปริมาณมากกว่าตัวทำละลายได้ เช่น ระบบแยมที่มีน้ำตาล 70 % ซึ่งมีมากกว่าน้ำ แต่อย่างไรก็ตาม น้ำยังคงเป็นตัวทำละลาย ส่วนในระบบที่ตัวถูกละลายไม่ใช่ของเหลว เช่น ในน้ำโซดา ตัวถูกละลายคือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
สภาพละลายได้เราจะวัดความสามารถในการละลายในตัวถูกละลาย ถ้าตัว ถูกละลายละลายได้ดีในตัวทำละลาย เรียกว่ามี Solution pressure สูง หรือมีสภาพละลาย ได้สูง การละลายจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิด้วย โดยการละลายจะดีขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ณ อุณหภูมิหนึ่ง เมื่อเราเพิ่มปริมาณตัวถูกละลายลงไปในตัวทำละลาย จนถึงค่าหนึ่ง ที่ตัวถูกละลายไม่สามารถละลายได้ เราจะเรียกสารละลายนั้นว่า สารละลายอิ่มตัว (Saturated solution) ตัวอย่างเช่น น้ำเกลือแกงมีค่าอิ่มตัวที่ 26.5% โดยมวล และน้ำเชื่อมจากน้ำตาลทราย 35% โดยมวล ที่ระดับความดันบรรยากาศ อย่างไรก็ตามเราสามารถ ทำให้การละลายเพิ่มขึ้นได้โดยการให้ความร้อนแก่ระบบ ซึ่งถ้าหากเราปล่อยให้เกิด การเย็นตัวลงอย่างช้า ๆ ก็จะได้สารละลายอิ่มตัวยิ่งยวด (Supersaturated solution) แต่ถ้าทำการลดอุณหภูมิอย่างเร็ว ก็จะเกิดผลึกในสารละลายดังกล่าวทันที
รูปแบบการตกผลึก
รูปแบบของการตกผลึกสามารถทำได้ 3 วิธี คือ
1. ลดปริมาณของตัวทำละลายลง เช่น วิธีการระเหยน้ำในกระบวนการผลิตแยมใน Vacuum Evaporator โดยระเหยตัวทำละลายไปเรื่อย ๆ จนสารละลายเกิดการอิ่มตัวยิ่งยวด และในที่สุดก็จะเกิดการตกผลึกลงมา
2. ลด หรือ เพิ่มอุณหภูมิ เป็นวิธีที่ทำให้ตัวถูกละลายละลายได้น้อยลง แล้วในที่สุดทำให้ตัวถูกละลายที่อยู่ในสภาพอิ่มตัวยิ่งยวด ส่วนตัวทำละลายก็จะตกผลึก
3. เปลี่ยนธรรมชาติของระบบ โดยการเติมสารใด ๆ ที่ไปทำให้สมบัติของ ตัวทำละลาย หรือดึงตัวทำละลายไปทำการละลายในสารอื่น ซึ่งมีสภาพการละลาย ที่ดีกว่า หรือเติมตัวถูกละลายที่มีสภาพละลายได้สูงกว่าตัวถูกละลายเดิม ไปดึงเอา ตัวทำละลายมาจับ
การตกผลึกสารละลาย ทำได้ 3 วิธี คือ
1. ลดปริมาณของตัวทำละลายลง
2. ลด หรือ เพิ่มอุณหภูมิ
3. เปลี่ยนธรรมชาติของระบบ
ปรากฏการณ์ตกผลึก (Crystallization)
การตกผลึกประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลักที่สำคัญ คือ
1. การเกิดเกล็ดผลึก (Nucleation)
2. การโตของผลึก (Crystal Growth)
ทั้งสองขั้นตอนเกิดเฉพาะในสารละลายที่อิ่มตัวยิ่งยวดเท่านั้น แต่สภาพอิ่มตัวยิ่งยวดไม่ใช่เป็นเหตุเพียงอย่างเดียวที่ทำให้เกิดการตกผลึก ยังขึ้นกับค่าที่แน่นอนของดีกรี ของสภาพอิ่มตัวยิ่งยวดสำหรับขั้นตอนการเกิดเกล็ดผลึก สามารถเกิดขึ้นได้ ในสารละลายที่ไม่มีผลึกอยู่ในรูปของสารแขวนลอย ซึ่งเรียกการเกิดเกล็ดผลึกชนิดนี้ ว่าการเกิดเกล็ดผลึกปฐมภูมิ (primary nucleation) ส่วนการเกิดเกล็ดผลึกที่เกิดในสารละลายที่มีเกล็ดของผลึกอยู่ในสารละลายแล้ว เรียกว่า การเกิดเกล็ดผลึกทุติยภูมิ (secondary nucleation)
การเกิดเกล็ดผลึกปฐมภูมิ เป็นการเกิดผลึกขึ้นเองในสารละลาย ซึ่งอาจแบ่งเป็น
Homogeneous คือ เกิดขึ้นเองจริง ๆ ในสารละลาย
Heterogeneous คือ เกิดผลึกได้โดยอาศัยสิ่งเทียมหรือผงต่าง ๆ เป็นตัวเหนี่ยวนำกลไก การเกิดเกล็ดผลึกของทั้งสองแบบจะแตกต่างกันมาก
การตกผลึกเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสารละลายที่เป็นของไหลบริสุทธิ์ ที่มีการรวมตัวเป็นภาคของแข็งจากขนาดเล็ก ๆ แล้วมีการเพิ่มขนาดขึ้นตามลำดับ เป็นกระบวนการเก่าแก่กระบวนการหนึ่งที่อุตสาหกรรมทางเคมีนิยมใช้กัน เนื่องด้วยประสิทธิภาพของการแยกสารที่ดีโดยเฉพาะประสิทธิภาพทางด้านพลังงาน จะประหยัดกว่าทางด้านการกลั่น หรือการแยกสกัดระหว่างของเหลวกับของเหลว และได้มีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะทางด้านการปรับปรุงเครื่องตกผลึก ตลอดจน การหาวิธีการคำนวณหรือวัดหาขนาดของผลึกในเครื่องตกผลึกการตกผลึกขึ้นกับสมบัติอันหนึ่งของสารคือการละลาย การตกผลึกจะออกมาในลักษณะใด ขั้นตอนแรกจำเป็นต้องทราบคุณสมบัติข้อนี้ก่อน
การละลาย และสภาพอิ่มตัว
สารละลาย หมายถึง ของผสมตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ในสารละลายจึงแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
1. ตัวทำละลาย (Solvent)
2. ตัวถูกละลาย (Solute)
โดยตัวทำละลาย ซึ่งเป็นสารส่วนใหญ่ในระบบมีความสามารถในการละลายอีกสารหนึ่งให้อยู่ในสถานะเดียวกันได้ ในสารละลายใด ๆ ตัวทำละลายมักมีปริมาณมากกว่าตัวถูกละลาย แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไปในบางระบบถูกละลายอาจมีปริมาณมากกว่าตัวทำละลายได้ เช่น ระบบแยมที่มีน้ำตาล 70 % ซึ่งมีมากกว่าน้ำ แต่อย่างไรก็ตาม น้ำยังคงเป็นตัวทำละลาย ส่วนในระบบที่ตัวถูกละลายไม่ใช่ของเหลว เช่น ในน้ำโซดา ตัวถูกละลายคือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
สภาพละลายได้เราจะวัดความสามารถในการละลายในตัวถูกละลาย ถ้าตัว ถูกละลายละลายได้ดีในตัวทำละลาย เรียกว่ามี Solution pressure สูง หรือมีสภาพละลาย ได้สูง การละลายจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิด้วย โดยการละลายจะดีขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ณ อุณหภูมิหนึ่ง เมื่อเราเพิ่มปริมาณตัวถูกละลายลงไปในตัวทำละลาย จนถึงค่าหนึ่ง ที่ตัวถูกละลายไม่สามารถละลายได้ เราจะเรียกสารละลายนั้นว่า สารละลายอิ่มตัว (Saturated solution) ตัวอย่างเช่น น้ำเกลือแกงมีค่าอิ่มตัวที่ 26.5% โดยมวล และน้ำเชื่อมจากน้ำตาลทราย 35% โดยมวล ที่ระดับความดันบรรยากาศ อย่างไรก็ตามเราสามารถ ทำให้การละลายเพิ่มขึ้นได้โดยการให้ความร้อนแก่ระบบ ซึ่งถ้าหากเราปล่อยให้เกิด การเย็นตัวลงอย่างช้า ๆ ก็จะได้สารละลายอิ่มตัวยิ่งยวด (Supersaturated solution) แต่ถ้าทำการลดอุณหภูมิอย่างเร็ว ก็จะเกิดผลึกในสารละลายดังกล่าวทันที
รูปแบบการตกผลึก
รูปแบบของการตกผลึกสามารถทำได้ 3 วิธี คือ
1. ลดปริมาณของตัวทำละลายลง เช่น วิธีการระเหยน้ำในกระบวนการผลิตแยมใน Vacuum Evaporator โดยระเหยตัวทำละลายไปเรื่อย ๆ จนสารละลายเกิดการอิ่มตัวยิ่งยวด และในที่สุดก็จะเกิดการตกผลึกลงมา
2. ลด หรือ เพิ่มอุณหภูมิ เป็นวิธีที่ทำให้ตัวถูกละลายละลายได้น้อยลง แล้วในที่สุดทำให้ตัวถูกละลายที่อยู่ในสภาพอิ่มตัวยิ่งยวด ส่วนตัวทำละลายก็จะตกผลึก
3. เปลี่ยนธรรมชาติของระบบ โดยการเติมสารใด ๆ ที่ไปทำให้สมบัติของ ตัวทำละลาย หรือดึงตัวทำละลายไปทำการละลายในสารอื่น ซึ่งมีสภาพการละลาย ที่ดีกว่า หรือเติมตัวถูกละลายที่มีสภาพละลายได้สูงกว่าตัวถูกละลายเดิม ไปดึงเอา ตัวทำละลายมาจับ
การตกผลึกสารละลาย ทำได้ 3 วิธี คือ
1. ลดปริมาณของตัวทำละลายลง
2. ลด หรือ เพิ่มอุณหภูมิ
3. เปลี่ยนธรรมชาติของระบบ
ปรากฏการณ์ตกผลึก (Crystallization)
การตกผลึกประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลักที่สำคัญ คือ
1. การเกิดเกล็ดผลึก (Nucleation)
2. การโตของผลึก (Crystal Growth)
ทั้งสองขั้นตอนเกิดเฉพาะในสารละลายที่อิ่มตัวยิ่งยวดเท่านั้น แต่สภาพอิ่มตัวยิ่งยวดไม่ใช่เป็นเหตุเพียงอย่างเดียวที่ทำให้เกิดการตกผลึก ยังขึ้นกับค่าที่แน่นอนของดีกรี ของสภาพอิ่มตัวยิ่งยวดสำหรับขั้นตอนการเกิดเกล็ดผลึก สามารถเกิดขึ้นได้ ในสารละลายที่ไม่มีผลึกอยู่ในรูปของสารแขวนลอย ซึ่งเรียกการเกิดเกล็ดผลึกชนิดนี้ ว่าการเกิดเกล็ดผลึกปฐมภูมิ (primary nucleation) ส่วนการเกิดเกล็ดผลึกที่เกิดในสารละลายที่มีเกล็ดของผลึกอยู่ในสารละลายแล้ว เรียกว่า การเกิดเกล็ดผลึกทุติยภูมิ (secondary nucleation)
การเกิดเกล็ดผลึกปฐมภูมิ เป็นการเกิดผลึกขึ้นเองในสารละลาย ซึ่งอาจแบ่งเป็น
Homogeneous คือ เกิดขึ้นเองจริง ๆ ในสารละลาย
Heterogeneous คือ เกิดผลึกได้โดยอาศัยสิ่งเทียมหรือผงต่าง ๆ เป็นตัวเหนี่ยวนำกลไก การเกิดเกล็ดผลึกของทั้งสองแบบจะแตกต่างกันมาก
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อุปกรณ์และวิธีการทำ
อุปกรณ์
-ไข่
-น้ำเปล่า
-สีผสมอาหาร
-ช้อน
-พู่กัน
-กาว
-น้ำร้อน
-กรรไกร
-กระดาษทิชชู
-ไม้จิ้มฟัน
-ไข่
-น้ำเปล่า
-สีผสมอาหาร
-ช้อน
-พู่กัน
-กาว
-น้ำร้อน
-กรรไกร
-กระดาษทิชชู
-ไม้จิ้มฟัน
วิธีทำ
1.เจาะรูไข่ เทไข่ออกให้หมด จากรูที่เจาะ
2.ตัดเปลือกไข่ ออกเป็น 2 ส่วน
3.เช็ดเปลือกไข่ให้สะอาด
4.เทกาวลงในเปลือกไข่
5.เกลี่ยให้ทั่วด้วยพู่กัน
6.ใส่ผงฟูตามลงไปในเปลือกไข่
7.เคาะแป้งในส่วนที่เหลือออกจากเปลือกไข่
8.ใส่น้ำร้อนลงในแก้วใบใหญ่
9.หยดสีผสมอาหารลงไป
10.ใส่ผงฟูลงไป 3/4 ของแก้วที่ใส่น้ำพร้อมสีผสมอาหาร
11.ผสมให้เข้ากัน
12.ใส่เปลือกไข่ลงไป
13.กดให้จมในน้ำ พักทิ้งไว้ 12–14 ชม.
14.ตักออก
1.เจาะรูไข่ เทไข่ออกให้หมด จากรูที่เจาะ
2.ตัดเปลือกไข่ ออกเป็น 2 ส่วน
3.เช็ดเปลือกไข่ให้สะอาด
4.เทกาวลงในเปลือกไข่
5.เกลี่ยให้ทั่วด้วยพู่กัน
6.ใส่ผงฟูตามลงไปในเปลือกไข่
7.เคาะแป้งในส่วนที่เหลือออกจากเปลือกไข่
8.ใส่น้ำร้อนลงในแก้วใบใหญ่
9.หยดสีผสมอาหารลงไป
10.ใส่ผงฟูลงไป 3/4 ของแก้วที่ใส่น้ำพร้อมสีผสมอาหาร
11.ผสมให้เข้ากัน
12.ใส่เปลือกไข่ลงไป
13.กดให้จมในน้ำ พักทิ้งไว้ 12–14 ชม.
14.ตักออก
คลิปวิดีโอ
ความรู้ทั่วไปของสีผสมอาหาร
ความสำคัญของสีผสมอาหาร
1. ช่วยแก้ไขสีของอาหารที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสีตามธรรมชาติหรือการเปลี่ยนแปลงขณะแปรรูปหรือเก็บรักษาอาหาร
2. ช่วยเพิ่มหรือเน้นหรือรักษาความเป็นเอกลักษณ์สีของอาหาร
3. ช่วยสีสันของอาหารทำให้ดึุงดูดความสนใจที่น่ารับประทานแก่ผู้บริโภค
การใช้ประโยชน์สีผสมอาหาร
1. การใช้สำหรับแต่งอาหารทั่วไปที่ไม่มีสี เพื่อให้มีสีเป็นที่ดึงดูดใจผู้บริโภค เช่น เครื่องดื่มหรือเครื่องดื่มผง ลูกกวาด ไอศกรีม แยม เยลลี่ เป็นต้น
2. การใช้แต่งอาหารที่มีสูญเสียหรือเปลี่ยนแปลงสีระหว่างกระบวนการผลิต และการเก็บรักษา เช่น การผสมสีผสมอาหารในเบียร์ น้ำเชื่อม และอาหารอบ เป็นต้น
3. การใช้แต่งอาหารที่มีสีเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล และสภาพภูมิอากาศ เช่น การใช้แต่งสีน้ำนมวัวที่ผลิตได้ในฤดูหนาวให้มีสีเข้มขึ้น เพราะน้ำนมวัวในฤดูหนาวจะมีสีอ่อนเนื่องจากได้รับสารเบต้าแคโรทีนจากหญ้าในปริมาณน้อย ขณะที่น้ำนมวัวในฤดูร้อนมักมีสีเหลืองเข้ม เนื่องจากได้รับบีตาแคโรทีนในหญ้าที่มีมากกว่าหญ้าในฤดูหนาว
อันตรายจากสีสังเคราะห์
1. สีสังเคราะห์มีผลต่อสมดุล และประสิทธิภาพของน้ำย่อยในกระเพาะอาหารอาจทำให้เกิดอาการอาหารย่อยยาก ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นต้น
2. สีสังเคราะห์บางชนิดอาจมีส่วนผสมหรือปนเปื้อนโลหะหนัก ถึงแม้จะไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด เช่น แคดเมียม โครเมียม ตะกั่ว เป็นต้น แต่หากรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจเกิดการสะสม และก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายได้ เช่น มีอาการวิงเวียนศรีษะ เบื่ออาหาร ลำไส้อักเสบ และอาจเกิดมะเร็งตามมาได้
ความรู้ทั่วไปของผงสารส้ม
ประวัติ
สารส้ม (alum) มีการผลิตในระยะแรก ๆ ที่ไหน เมื่อไร ไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่มีรายงานว่าใน แถบเอเซียตอนกลาง มีการผลิตและซื้อขายสารส้มกันมาช้านานแล้วไม่ต่ำกว่า 500 ปี
สารส้ม (alum) พบว่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหลายแห่ง โดยเฉพาะบริเวณที่เคยเป็นภูเขาไฟ มาก่อน การนำมาใช้บางแห่งต้องสกัดออกมาจากดิน เช่นเดียวกับการทำเกลือสินเธาว์บางแห่งผลิตจากแร่ส้มหิน (alunite, alumstone หรือ alunrock)โดยนำมาเผาเมื่อละลายจึงนำไปตกตะกอน หรือแร่อี่น ๆ ที่มี อลูมิเนียม(aluminum)เป็นองค์ประกอบ ในประเทศไทยชาวบ้านเรียกว่า ดินส้ม พบอยู่หลายจังหวัดมีมากที่จังหวัดเลย แต่สารส้มที่พบตามธรรมชาติ มีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ มนุษย์จึงต้องคิดค้นวิธีการผลิตขึ้นมาเอง โดยนำเอาแร่ธาตุจากธรรมชาติที่มีปริมาณอะลูมินาสูงเป็นวัตถุดิบได้สำเร็จ และผลิตเป็นการค้า มาจนถึงปัจจุบัน สารส้ม (alum) มีประโยชน์และมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันมาก แต่ไม่ค่อยมีใครได้นึกถึง เพราะไม่ค่อยได้เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น น้ำประปาที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ต้องอาศัยสารส้มทำให้ใส ใช้ในอุตสากรรม กระดาษ ฟอกหนัง ย้อมผ้า ฟอกสี ทำผงฟู และ ยา เป็นต้น
ประเภทของสารส้ม
สารส้ม (alum) มีรากศัพท์มาจากคำในภาษาลาตินว่า alumen แปลว่า สารทำให้หดตัว (astringent) แต่ในปัจจุบัน สารส้มหมายถึงเกลือเชิงซ้อน ( ผลึกเกลือ ) ของสารประกอบที่มี ธาตุอะลูมิเนียม และ ซัลเฟต เป็นส่วนประกอบหลัก แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. เกลือซัลเฟตของอะลูมิเนียมหรืออะลูมิเนียมซัลเฟต [AL2(SO4)3. XH2O] ลักษณะ เป็น ก้อนผงสีขาว
2. เกลือเชิงซ้อนของโพแทสเซียมหรือโพแทสเซียมอะลั่ม [AL2(SO4)3 . K2SO4 . 24H2O] ลักษณะเป็นผลึกใสไม่มีสี
3. เกลือเชิงซ้อนของแอมโมเนียมหรือแอมโมเนียมอะลั่ม [AL2(SO4)3 . (NH4)2SO4 . 24H2O] ลักษณะเป็นผลึกใสไม่มีสี
อย่างไรก็ตามสารส้ม (alum) ทั้ง 3 ประเภทดังกล่าว นำไปใช้ประโยชน์อย่างเดียวกัน การเติม ammonium และ potassium ลงไปก็เพื่อความประสงค์อื่น คือต้องการให้เป็นก้อนผลึกใสและบริสุทธิ์ ยิ่งขึ้นเนื่องจากอุสาหกรรมหลายชนิด เช่น การผลิตกระดาษคุณภาพสูง และผสมทำผงฟู เป็นต้น ต้องการสารส้ม ที่มีความบริสุทธ์ มากๆ
ประโยชน์
1.การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม ส่วนมากจะใช้ในอุตสาหกรรมการประปา รองลง มาได้แก่ อุตสาหกรรมกระดาษ ย้อมผ้า ฟอกหนัง ผสมเป็นยาดับเพลิง สารดับกลิ่น ฟอกสี และ ผสมทำผงฟูใช้ในการทำขนมปัง เป็นต้น
2.การใช้เกี่ยวข้องกับผิวหนัง ใช้ดับกลิ่นตัวได้ทุกส่วนของร่างกายตามที่ต้องการ โดยเฉพาะที่ใต้วงแขน ( รักแร้ ) และ เท้า สามารถระงับ กลิ่นได้ 100 % นานถึง 24 ชม. และหน่วงการเกิดกลิ่นได้ไม่ต่ำกว่า 10 ชม. ใช้ทาหลังโกนหนวดจะไม่ทำให้เกิดการระคายเคือง ช่วยห้ามเลือดและสมานบาดแผลที่เกิดจากมีดโกนบาด หรือ บาดแผลเล็กน้อยใช้ทาที่ส้นเท้าจะรักษาและป้องกันส้นเท้าแตก ทาแก้คันตามผิวหนังเมื่อถูกยุงกัดหรือคันจากสาเหตุอื่น
คุณสมบัติ
1.ไม่มีสีและกลิ่น ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่พิเศษของมัน เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบใช้น้ำหอม เพราะจะไม่มีกลิ่นไปรบกวนหรือหักล้างกลิ่นน้ำหอมที่ใส่อยู่ กล่าวคือ สารดับกลิ่นตัวส่วนมากจะผสมน้ำหอมลงไปด้วย ทำให้ไปรบกวนกลิ่นของน้ำหอมราคาแพงที่ใส่อยู่
2.ไม่เปื้อนเสื้อผ้า เพราะไม่มีส่วนผสมของ ครีม และน้ำมัน
3.ปลอดภัย กับร่างกาย กล่าวคือ ไม่อุดตันรูขน ไม่ซึมเข้าสู่ร่างกายเพราะตัวมันทำให้เกิดประจุลบจึงไม่สามารถที่ผ่านผนังเซลได้ ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ทำลายโอโซน
4.ไม่เสื่อมสภาพ มีความคงทนต่อสภาพแวดล้อมไม่เสื่อมสภาพที่อุณหภูมิสูง
สารส้ม (alum) พบว่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหลายแห่ง โดยเฉพาะบริเวณที่เคยเป็นภูเขาไฟ มาก่อน การนำมาใช้บางแห่งต้องสกัดออกมาจากดิน เช่นเดียวกับการทำเกลือสินเธาว์บางแห่งผลิตจากแร่ส้มหิน (alunite, alumstone หรือ alunrock)โดยนำมาเผาเมื่อละลายจึงนำไปตกตะกอน หรือแร่อี่น ๆ ที่มี อลูมิเนียม(aluminum)เป็นองค์ประกอบ ในประเทศไทยชาวบ้านเรียกว่า ดินส้ม พบอยู่หลายจังหวัดมีมากที่จังหวัดเลย แต่สารส้มที่พบตามธรรมชาติ มีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ มนุษย์จึงต้องคิดค้นวิธีการผลิตขึ้นมาเอง โดยนำเอาแร่ธาตุจากธรรมชาติที่มีปริมาณอะลูมินาสูงเป็นวัตถุดิบได้สำเร็จ และผลิตเป็นการค้า มาจนถึงปัจจุบัน สารส้ม (alum) มีประโยชน์และมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันมาก แต่ไม่ค่อยมีใครได้นึกถึง เพราะไม่ค่อยได้เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น น้ำประปาที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ต้องอาศัยสารส้มทำให้ใส ใช้ในอุตสากรรม กระดาษ ฟอกหนัง ย้อมผ้า ฟอกสี ทำผงฟู และ ยา เป็นต้น
ประเภทของสารส้ม
สารส้ม (alum) มีรากศัพท์มาจากคำในภาษาลาตินว่า alumen แปลว่า สารทำให้หดตัว (astringent) แต่ในปัจจุบัน สารส้มหมายถึงเกลือเชิงซ้อน ( ผลึกเกลือ ) ของสารประกอบที่มี ธาตุอะลูมิเนียม และ ซัลเฟต เป็นส่วนประกอบหลัก แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. เกลือซัลเฟตของอะลูมิเนียมหรืออะลูมิเนียมซัลเฟต [AL2(SO4)3. XH2O] ลักษณะ เป็น ก้อนผงสีขาว
2. เกลือเชิงซ้อนของโพแทสเซียมหรือโพแทสเซียมอะลั่ม [AL2(SO4)3 . K2SO4 . 24H2O] ลักษณะเป็นผลึกใสไม่มีสี
3. เกลือเชิงซ้อนของแอมโมเนียมหรือแอมโมเนียมอะลั่ม [AL2(SO4)3 . (NH4)2SO4 . 24H2O] ลักษณะเป็นผลึกใสไม่มีสี
อย่างไรก็ตามสารส้ม (alum) ทั้ง 3 ประเภทดังกล่าว นำไปใช้ประโยชน์อย่างเดียวกัน การเติม ammonium และ potassium ลงไปก็เพื่อความประสงค์อื่น คือต้องการให้เป็นก้อนผลึกใสและบริสุทธิ์ ยิ่งขึ้นเนื่องจากอุสาหกรรมหลายชนิด เช่น การผลิตกระดาษคุณภาพสูง และผสมทำผงฟู เป็นต้น ต้องการสารส้ม ที่มีความบริสุทธ์ มากๆ
ประโยชน์
1.การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม ส่วนมากจะใช้ในอุตสาหกรรมการประปา รองลง มาได้แก่ อุตสาหกรรมกระดาษ ย้อมผ้า ฟอกหนัง ผสมเป็นยาดับเพลิง สารดับกลิ่น ฟอกสี และ ผสมทำผงฟูใช้ในการทำขนมปัง เป็นต้น
2.การใช้เกี่ยวข้องกับผิวหนัง ใช้ดับกลิ่นตัวได้ทุกส่วนของร่างกายตามที่ต้องการ โดยเฉพาะที่ใต้วงแขน ( รักแร้ ) และ เท้า สามารถระงับ กลิ่นได้ 100 % นานถึง 24 ชม. และหน่วงการเกิดกลิ่นได้ไม่ต่ำกว่า 10 ชม. ใช้ทาหลังโกนหนวดจะไม่ทำให้เกิดการระคายเคือง ช่วยห้ามเลือดและสมานบาดแผลที่เกิดจากมีดโกนบาด หรือ บาดแผลเล็กน้อยใช้ทาที่ส้นเท้าจะรักษาและป้องกันส้นเท้าแตก ทาแก้คันตามผิวหนังเมื่อถูกยุงกัดหรือคันจากสาเหตุอื่น
คุณสมบัติ
1.ไม่มีสีและกลิ่น ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่พิเศษของมัน เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบใช้น้ำหอม เพราะจะไม่มีกลิ่นไปรบกวนหรือหักล้างกลิ่นน้ำหอมที่ใส่อยู่ กล่าวคือ สารดับกลิ่นตัวส่วนมากจะผสมน้ำหอมลงไปด้วย ทำให้ไปรบกวนกลิ่นของน้ำหอมราคาแพงที่ใส่อยู่
2.ไม่เปื้อนเสื้อผ้า เพราะไม่มีส่วนผสมของ ครีม และน้ำมัน
3.ปลอดภัย กับร่างกาย กล่าวคือ ไม่อุดตันรูขน ไม่ซึมเข้าสู่ร่างกายเพราะตัวมันทำให้เกิดประจุลบจึงไม่สามารถที่ผ่านผนังเซลได้ ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ทำลายโอโซน
4.ไม่เสื่อมสภาพ มีความคงทนต่อสภาพแวดล้อมไม่เสื่อมสภาพที่อุณหภูมิสูง
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ความรู้ทั่วไปของไข่
2.เยื่อหุ้มไข่ มีอยู่ด้วยกัน2ชั้น ชั้นนอกที่ติดเปลือกมีชื่อเรียกว่า shell membrane ชั้นในที่ติดกับไข่ขาวเรียกว่า egg membrane เยื่อชั้นนอกและชั้นในจะชิดกันตลอด แต่แยกกันที่ด้านป้านของไข่ซึ่งมีโพรงอากาศ
3.โพรงอากาศ (air cell) เป็นช่องว่างที่อยู่บริเวณด้านป้านของไข่ อยู่ระหว่างเยื่อหุ้มชั้นนอกและเยื่อหุ้มชั้นใน เมื่อไข่ออกมาใหม่ๆ อุณหภูมิของไข่ยังสูง จึงไม่มีช่องว่าง ต่อเมื่อเมื่อไข่เย็นลง ของเหลวภายในไช่หดตัว ทำให้เกิดเป็นโพรงอากาศขึ้น และถ้าหากมีน้ำระเหยออกไปมาก หากไข่อายุมากขึ้นช่องอากาศจะขยายใหญ่ขึ้นเนื่องจากความชื้นและคาร์บอน ไดออกไซด์ระเหยออกไป และถูกทดแทนด้วยอากาศ ไข่จะเบาขึ้นและสามารถลอยน้ำได้ เราจึงสามารถทดสอดความสดของไข่ได้โดยการนำไปใส่น้ำ ไข่ที่สดจะจมอยู่ก้นภาชนะ ก็จะทำให้โพรงอากาศใหญ่ขึ้นด้วย
4.ไข่ขาว (albumen) มีทั้งหมด3ชั้น ไข่ขาวชั้นนอกสุดจะค่อนข้างเหลว อยู่ติดกับเยื่อหุ้มไข่ ถัดมาเป็นไข่ขาวข้น มีปริมาณมากกว่าครึ่งของไข่ขาวทั้งหมด ส่วนชั้นในสุดเป็นไข่ขาวอย่างเหลว ในไข่ขาวประกอบด้วยน้ำและโปรตีนเป็นส่วนใหญ่ มีไขมันบ้างเล็กน้อย ลักษณะที่เป็นเมือกของไข่ขาวข้น เกิดจากคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่
5.เยื่อหุ้มไข่แดง (Vitelline membrane) มีประโยชน์คือ ช่วยหุ้มไข่แดงเอาไว้โดยรอบ
6.ไข่แดง (Yolk) ไข่แดงจะอยู่กลางฟองโดยการยืดของเยื่อ ที่เป็นเกลียวแข็ง อยู่ด้านหัวและท้ายของไข่แดง และยื่นเข้าไปในไข่ขาวไข่แดงมีความเข้มข้นมากกว่าไข่ขาว เพราะมีน้ำน้อยกว่า มีไขมันและโปรตีนมากกว่า ในไข่แดงบางฟองอาจมีจุดเลือด มีสาเหตุมาจากเส้นเลือดฝอยในรังไข่ของแม่ไก่แตก ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ทำให้จุดเลือดดังกล่าวกลายเป็นชิ้นเนื้อเล็กๆ ไม่ได้ให้โทษแต่อย่างใด
วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ผู้จัดทำโครงงาน
นาย ชยธร สาระธนะ ม.5/1 เลขที่ 6
นางสาว เกวลิน ปงชาคำ ม.5/1 เลขที่ 24
นางสาว อารยา ทองคำ ม.5/1 เลขที่ 25
นาย ชินภพ วิริยะกิจ ม.5/1 เลขที่ 28
นางสาว จิตรลดา ทิพย์ทินกร ม.5/1 เลขที่ 29
นางสาว พรนภัส นอละออ ม.5/1 เลขที่ 30
นางสาว อชิรญา บำรุงศิลป์ ม.5/1 เลขที่ 31
นางสาว นภสร วงศ์ปรีชาสวัสดิ์ ม.5/1 เลขที่ 32
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)